STEM : กังหันพลังงานน้ำ
ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 เวลา 4 ชั่วโมง
สาระสำคัญ
พลังงานน้ำนั้นสามารถทำให้สิ่งของต่างๆเคลื่อนที่ได้
จึงมีการน้ำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า ใช้หลักการถ่ายโอนพลังงานน้ำจากที่เก็บไปยังกังหันน้ำเพื่อทำให้เครื่องผลิตไฟฟ้านั้นสามมารถทำงานและผลิตฟ้า
สาระการเรียนรู้
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกังหัน
2. การออกแบบกังหัน
3. การทำกังหัน
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
– การคิดอย่างสร้างสรรค์
2. ทักษะชีวิตและอาชีพ
– สามารถนำมาสร้างอาชีพได้
3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี
– การใช้และการจัดการสารสนเทศ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถทำกังหัง (ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม)
2. นักเรียนสามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม (ทักษะชีวิตและอาชีพ)
3. นักเรียนสามารถค้นหาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลได้ (ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี)
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมง 1 – 2
1. ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ6-7 คน จากนั้นครูอธิบายกิจกรรม “กังหันพลังงานน้ำ”
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นหาข้อมูลหาประวัติ การทำงาน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทำลงในใบกิจกรรม “ข้อมูลช่วยสร้างกังหัน” และร่วมกันอภิปรายเพื่อหาข้อสรุปของข้อมูลที่ค้นคว้ามา และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปและอภิปราย
4. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนการกังหันพลังงานน้ำ โดยให้นักเรียนออกแบบกังหันที่กลุ่มตัวเองจะทำ และให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้มาในคาบหน้า
ชั่วโมง 3 – 4
1. ครูเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มกิจกรรมโดยตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ในการทำกังหันของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
2. นักเรียนนำแบบที่ออกแบบไว้มาร่างบนแผ่นไม้ โดยให้กลไกอยู่ตรงกลาง
3. นักเรียนลงมือทำกังหัน
4. นำเสนอของแต่ละกลุ่มโดยการประกวดความคิดสร้างสรรค์
การวัดและประเมินผล
จุดประสงค์การเรียนรู้ | วิธีการวัด | เครื่องมือ |
นักเรียนสามารถทำนาฬิกาไม้ได้ (ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม) | ประเมินใบกิจกรรม “ข้อมูลชวนคิด” | ใบกิจกรรม “ข้อมูลช่วยสร้าง” |
นักเรียนสามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม (ทักษะชีวิตและอาชีพ) | สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม | แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม |
นักเรียนสามารถค้นหาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลได้ (ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี) | ประเมินใบกิจกรรมการค้นหาข้อมูล | ใบกิจกรรมการค้นหาข้อมูล |