STEAM คืออะไร?
การศึกษาแบบ STEAM คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญ?
หลายคนอาจจะเคยได้ยินการศึกษาเเบบ STEM ซึ่งคือแนวทางการศึกษาที่เน้นการเรียนใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) การเรียนแบบ STEM เน้นการเรียนแบบไม่ท่องจำหรือตามทฤษฎี เเต่เป็นการปฏิบัติจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด การตั้งคำถามสงสัย การแก้ปัญหา และการวิเคราะห์ ที่เน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้พื้นฐานที่ได้ไปใช้ในชีวิตและการทำงานจริง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า STEM จะตอบโจทย์การเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการทำงานเเละการใช้ชีวิตในยุคสังคมเเละเศรษฐกิจในกว่าสิบปีที่ผ่านมา เเต่ปัจจุบันในโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การศึกษาแบบ STEM ยังขาดการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และความเป็นนวัตกรรม (Innovation) ดังนั้นจึงเกิด STEAM ที่มี “ศิลปะ (Arts)” เพิ่มขึ้นมา
STEAM คือออะไร
การศึกษาแบบ STEAM ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ของพวกเขาโดยใช้ ศิลปะ (Arts) สนับสนุนให้เกิดการแก้ปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) พัฒนาความคิดเชิงวิจารณ์ (Critical thinking) และการแก้ไขปัญหา (Problem Solving) โดย STEAM ประกอบไปด้วย
🔬 S-Science (วิทยาศาสตร์) เด็กทุกคนเกิดมาล้วนมีความสงสัย อยากค้นหา ทดลองสิ่งใหม่ๆ ดังนั้นการเรียรรู้วิทยาศาสตร์ช่วยให้เด็กเกิดการสังเกต ตั้งคำถาม และนำไปสู่การลองผิดลองถูก
📽 T- Technology (เทคโนโลยี) เราอาจจะคิดว่าเทคโนโลยีหมายถึงคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ สมาร์ทโฟนต่างๆ แต่เทคโนโลยีในที่นี้หมายถึง ทุกสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ซึ่งการสร้างเทคโนโลยีเริ่มได้ตั้งเเเต่เด็ก โดยใช้เครื่องมือง่ายๆ เช่น ไขควง กรรไกร ฯลฯ เพื่อสร้างผลงานชิ้นหนึ่งขึ้นด้วยตัวเอง เด็กจะเรียนรู้ทุกขั้นตอนในการสร้าง เเละฝึกการมีเหตุและผลเบื้องหลังผลงาน
⚙️ E- Engineering (วิศวกรรม) การฝึกออกเเบบและการสร้างอย่างเป็นระบบ คือการเสริมสร้างทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งช่วยให้เด็กเข้าใจถึงสิ่งต่างๆ ว่าเกิดขึ้นทำไมและอย่างไร
🎨 A- Arts (ศิลปะ) การมีความคิดที่สร้างสรรค์ คือหัวใจของ STEAM เเละเป็นเหตุผลที่ทำไม Arts (ศิลปะ) ถึงถูกเพิ่มเข้ามา เด็กสามารถแสดงออกถึงความคิดนอกกรอบและสร้างสรรค์เมื่อได้เขาไปมีส่วนร่วมกับศิลปะ ซึ่งเด็กสามารถเอาทักษะเหล่นนี้ไปปรับใช้ในการทำงานเเละชีวิตได้
➕ M- Mathematics (คณิตศาสตร์) คือตัวเลข การวัด ขนาด มาก-น้อย ซึ่งเด็กสามารถประยุกต์สิ่งเหล่านี้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
ทำไมการศึกษาแบบ STEAM จึงสำคัญ?
- ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงกับโลกแห่งความเป็นจริงได้ไวเเละทำได้จริง
- ปลูกฝังความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียน (Curiosity) ซึ่งได้มาจากการทดลอง การทำงานร่วมกัน ซึ่งต่อมาจะเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการเรียนรู้ วิธีการแก้ปัญหา และ ทักษะความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์
3.กระตุ้นจินตนาการ ที่นำไปสู่การคิดค้นวิธีการคิด หรือนวัตกรรมใหม่ๆ
พ่อเเม่สามารถสนับสนุนการศึกษา STEAM กับลูกได้อย่างไร?
- ตั้งคำถามที่ลูกสามารถสะท้อน (Reflect) สิ่งที่เขากำลังจะทำ เช่น ลูกกำลังทำอะไรอยู่? ลูกสังเกตเห็นอะไรหรือป่าว? คิว่าทำไปเเล้วอะไรจะเกิดขึ้น?
- พูดกับลูกเชิงบวก พยายามไม่พูดเชิงตัดสิน เช่น ไม่พูดว่าภาพที่ลูกวาดไม่สวยเลย ต้นไม้ควรเป็นสีเขียวนะ ไม่ใช่สีม่วง เป็นต้น เพื่อสร้างความคิดสร้างสรรค์เเละเพิ่มความมั่นใจให้รู้ในการลองทำสิ่งใหม่ ๆ ในอนาคต
- พาลูกออกไปเล่นอย่างอิสระ (Free Play) หรือทำกิจกรรมนอกห้องเรียน เพราะเด็กจะได้มีโอกาสทดลองและเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากการลงมือทำ (Hand-on Learning) ผ่านการเล่นอย่างอิสระนั้นเอง
อ้างอิง
Facebook: Leeway การเรียนรู้ผ่านการเล่น
https://educationcloset.com/steam/what-is-steam/