คุณลักษณะโครงงานที่ดี
โครงงานที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้
1. สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาของโครงงานได้อย่างครบถ้วน
2. เป็นไปตามขอบเขตที่กำหนดไว้
3. สามารถดำเนินการเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้และเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
4. ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ
ในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ที่ดีจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้รับ และต้องมีคุณลักษณะที่ดีตามที่กล่าวข้างต้น แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นจากการทำโครงงาน ซึ่งผู้จัดทำอาจต้องหลีกเลี่ยง โดยจะต้องคำนึงถึงผลกระทบทางลบในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรมและด้านสิ่งแวดล้อม
การประเมินผลโครงงาน
การประเมินผลโครงงานเป็นการวัดคุณภาพของผลงานว่ามีคุณภาพเพียงใด โดยอาศัยเกณฑ์ดังตารางด้านล่าง ทั้งนี้ นักเรียนควรทราบเกณฑ์สำหรับการประเมินผล เพื่อสร้างผลงานที่มีคุณภาพการเรียนรู้การจัดทำโครงงานนั้น จะทำให้ผู้เรียนได้นำความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการและกระบวนการที่ใช้ในการแก้ปัญหา หลักการเขียนโปรแกรมการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรม มาเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ โดยมีครูที่ปรึกษาให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง และทำให้ผู้เรียนเขียนรายงานสรุปได้อย่างมีขั้นตอน
1 คัดเลือกหัวข้อ
• ความชัดเจนในหัวข้อโครงงาน
• ความเข้าใจหัวข้อโครงงาน
2 ศึกษาค้นคว้าข้อมูล
• ความถูกต้องของแนวคิด/ทฤษฎี
• ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล
3 ข้อเสนอโครงงาน
• ความถูกต้องและสมบูรณ์ของข้อเสนอโครงงาน
• การเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ ของหัวข้อโครงงาน
4 พัฒนาโครงงาน
• ความถูกต้องของการออกแบบ
• ความสำเร็จของโครงงานตามกำหนดการ
• ความถูกต้องของระบบงาน
• การเข้าพบครูที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ
5 รายงานโครงงาน
• ความถูกต้องและสมบูรณ์ของรายงานโครงงาน
• การเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ ของรายงานโครงงาน
การศึกษาผลกระทบของโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ที่พัฒนาขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมให้ดีขึ้น หากแต่มนุษย์จะเป็นผู้เลือกที่จะนำไปใช้ในทางที่ถูกหรือในทางที่ผิด ดังนั้น ผู้พัฒนาควรตระหนักในเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อคุณภาพชีวิตของคนในสังคม เพื่อหาแนวทางป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ โดยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อคุณภาพชีวิตของคนในสังคมมีดังนี้
1. ด้านเศรษฐกิจ หมายถึง ผลงานของโครงงานกระทบกับการซื้อขาย การจับจ่ายใช้สอยและรายได้ของคนในสังคม
2. ด้านสังคมและวัฒนธรรม หมายถึง ผลงานของโครงงานกระทบกับวิถีการดำเนินชีวิต ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีของคนในสังคม
3. ด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง ผลงานของโครงงานกระทบกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่นป่าไม้ ภูเขา ดิน นํ้า อากาศ
อ้างอิง: https://sites.google.com/site/rsbspen/hnwy-thi-1-hlak-kar-tha-khorng-ngan-khxmphiwtexr/1-3-khunlaksna-thi-di-khxng-khorng-ngan