1. เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)
2. ครูเป็นผู้แนะแนวทาง (guide/coach)
3. ครูเป็นผู้ร่วมเรียนรู้/ร่วมศึกษา (co-learner/co-investigator)
บทบาทหน้าที่ของครู
บทบาทของครูยุคใหม่ คือการทําหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียนให้พัฒนาตนเองให้ได้เต็ม ศักยภาพ และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพราะเทคโนโลยีในทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและ ล้ำสมัย ผู้คนในยุคใหม่จึงต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา ดังนั้นครูต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและคอย แนะนําแนวทางการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเด็กอย่างเข้าใจ และพร้อมที่จะทุ่มเทวิชาความรู้ด้วยวิธีการ สมัยใหม่ตามธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม แม้เทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความสามารถของครูยุคใหม่อาจจะไม่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้แต่สิ่งที่ครูสามารถที่จะบอกนักเรียนได้ว่าข้อมูลใดสามารถ นําไปปรับใช้กับชีวิตจริง แต่สิ่งที่สําคัญ ที่จะหาไม่ได้จากเทคโนโลยีสมัยใหม่คือ ศีลธรรม คุณธรรม ที่ครูสอนถ่ายทอดให้เด็กซึ่งเป็นส่วนสําคัญอันจะถูก พัฒนาไปพร้อมกับสติปัญญาเพื่อให้ความรู้แก่อนาคตของชาติอย่างถูกต้องสมบูรณ์ยั่งยืนต่อไป ครูมุ่งมั่น ในศตวรรษที่ 21 ที่ผมนำมาแบ่งออกเป็น 6 องค์ประกอบ
1. ครูเป็นโค้ช
2. เน้นตั้งคำถาม-ถามตอบ
3. ไม่ต้องอายที่จะบอว่า “ไม่รู้”
4. สร้างแรงบรรดานใจให้ นักเรียน
5. ให้ feedback กับนักเรียน
6. สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
* ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
* การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
* การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
* ความรู้ด้านสารสนเทศ
* ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
* ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
* ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
* การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
* ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
* การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
* ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)
อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/varticle/60454