วิธีเดาข้อสอบอย่างเทพ! โดยหลักการของ Poundstone
ข้อสอบ สิ่งที่มนุษย์ ‘วัยเรียน’ ทุกคนต้องพบเจอ แม้แต่มนุษย์เงินเดือนบางคนก็ยังต้องเจอ! โดยเฉพาะข้อสอบแบบกากบาท หรือ Multiple choices ที่โอกาสถูกมีแค่ 1 ใน 4 (ที่บางครั้งก็เลวร้ายลงไปอีกเพราะมีช้อยส์ข้อ 5 โผล่มา กลายเป็น 1 ใน 5 ซะงั้น) และนี่คือสิ่งที่อ๋อเหรอเล็งเห็นถึงปัญหา (เป็นปัญหาของมวลมนุษย์อย่างแท้จริง) เราจึงมีเทคนิคเดาข้อสอบขั้นเทพ! มาให้ได้ลองใช้ฟรีๆ
Tip&Trick: เดาข้อสอบแบบขั้นเทพ!
จาก ทฤษฎีของนาย William Poundstone ผู้เขียนหนังสือ Rock Breaks Scissors: A Practical Guide to Outguessing and Outwitting Almost Everybody หรือ ค้อนชนะกระดาษ วิถีแห่งการเดาทางและเอาชนะคนรอบข้าง(เกือบ)ทุกคน พบว่าข้อสอบออกโดยมนุษย์ ดังนั้นทุกข้อสอบย่อมต้องมี ‘จุดบอด’ หรือ ‘รูปแบบซ้ำๆ’ ที่ทำให้เราสามารถจับทางได้ และหลังจากการศึกษาข้อสอบกว่า 100 รูปแบบ รวมกว่า 2,456 ข้อ จึงออกมาเป็นทฤษฎี 4 วิธีเดาข้อสอบให้มีโอกาสถูกมากที่สุด หรือ ง่ายๆคือ 4 วิธีเดาข้อสอบอย่างฉลาด!

1.โยนหลักการแสนฉลาดแบบเดิมๆทิ้งซะ
ไอ้คำแนะนำประเภทให้เลือก “คำตอบกลางๆ” เข้าไว้เวลาที่เราไม่รู้คำตอบ หรือ ให้หลีกเลี่ยงการเลือกคำตอบแบบ “ถูกทุกข้อ” หรือ “ไม่มีข้อไหนถูก” จากการศึกษาของนาย Poundstone พวกนี้จัดเป็นคำแนะนำที่ Fail เพราะกว่า 52% ของคำตอบประเภท “ถูกทุกข้อ” มักจะเป็นคำตอบที่ถูก ดังนั้นหากคุณเลือกคำตอบประเภทนี้ คุณจึงมีโอกาสถูกในข้อนั้นกว่า 90%! (เหยย…เทพ!)
2.มองคำตอบให้ทั่วๆ
ตามทฤษฎีของนาย Poundstone คำตอบที่ถูกต้องมักไม่ออซ้ำๆกัน วิธีคือให้เราดูคำตอบข้ออื่นๆที่เรามั่นใจว่าถูก หากคำตอบข้อนั้นไปปรากฎอยู่ในข้อที่เราไม่มั่นใจให้เราตัดออก เช่น เราติดอยู่ที่ข้อ 2 แต่ข้อ 1 เรามั่นใจว่าคำตอบคือ C และข้อ 3 คำตอบคือ B หากคำตอบของข้อ 1 และ 3 เป็นหนึ่งในช้อยส์ของข้อ 2 ให้เราตัดออก ก็จะเหลือตัวเลือกแค่ 2 ช้อยส์ เป็นต้น

“การตัดช้อยส์ออกให้ตัดบนพื้นฐานของความจริง”- William Poundstone
3.เลือกคำตอบยาวๆไว้ก่อน

4.กำจัดคำตอบที่เป็นจุดสังเกตมากเกิน
ตัวอย่าง เช่น
A. haphazard…radical
B. inherent…controversial
C. improvised…startling
D. methodical…revolutionary
E. derivative…gradual
ตามแนวคิดของนาย Poundstone คำว่า gradual ต่างจากชาวบ้านแบบสุดๆ คือ มีความหมายโดดไปจากคำอื่น สมควรโดนตัดทิ้ง ในขณะที่ haphazard ในข้อ A และ improvised ในข้อ C ก็แทบจะมีความหมายเดียวกัน จึงโดนกำจัดออกเป็นรายต่อไป (เพราะไม่งั้นจะกลายเป็นว่ามีข้อถูกมากกว่า 1 ข้อ) เท่านี้เราก็ตัดช้อยส์ได้มากกว่าโดยที่ยังไม่ทันได้อ่านโจทย์ด้วยซ้ำ (เทพไปป่ะ!?)
ที่มา: https://bit.ly/2MZMFGA