ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่4 เวลา 6 ชั่วโมง
STEM : โมบายรักษ์โลก
นางสาว นัฐรดี เสนาปัก รหัสนักศึกษา60111806027 ห้อง1
สาระการเรียนรู้
การสร้างโมบายเป็นการนำความรู้ในเรื่องความสมดุล ความแข็งของวัสดุ การเลือกใช้วัสดุ รวมทั้งการ เปรียบเทียบน้ำหนัก และการวัดความยาว มาแก้ปัญหาผ่านสถานการณ์ประดิษฐ์โมบาย จากวัสดุที่หาได้จากท้องถิ่นต่างๆ และใช้กระบวนการ ออกแบบเชิงวิศวกรรม
ตัวชี้วัดตามหลักสูตร
วิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์
เทคโนโลยี
- ทดลองและเปรียบเทียบ ความแข็ง สภาพยืดหยุ่น การนำความร้อน และการนำไฟฟ้าของวัสดุ ยกตัวอย่าง การนำวัสดุไปใช้ประโยชน์ ตามสมบัติของวัสดุ
- สร้างอย่างมีความคิด สร้างสรรค์ตามกระบวนการ เทคโนโลยี โดยถ่ายทอดความ คิดเป็นภาพร่าง 2 มิติ ที่กำหนดไว้ชัดเจน
- เลือกใช้วัสดุโดยคำนึงถึงสมบัติ ของวัสดุ และใช้เครื่องมือให้ เหมาะสมกับการสร้างชิ้นงาน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย
- ค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
-ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
ทักษะชีวิตและอาชีพ
-รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
ทักษะด้านสารสนเทศ
– สื่อและเทคโนโลยี – ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
สาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์
เทคโนโลยี
- ความแข็งของวัสดุเป็นสมบัติ หนึ่งของวัสดุ วัสดุต่างชนิดกัน จะมีความแข็งต่างกัน วัสดุที่มี ความแข็งมากกว่าจะทำให้เกิด รอยบนวัสดุที่มีความแข็ง น้อยกว่า
- การวัดและการเปรียบเทียบ ความยาว
- การเปรียบเทียบน้ำหนัก
- การค้นหาข้อมูลที่สอดคล้องกับ ข้อมูลที่ต้องการและเลือกแหล่ง ข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้
- วัสดุได้มาจากธรรมชาติและการ สังเคราะห์ขึ้น วัสดุแต่ละชนิดมี สมบัติต่างกันจึงต้องเลือกใช้ให้ เหมาะสมกับการสร้างชิ้นงาน
กรอบแนวคิด
โมบายแสนสวย
E: วิศวกรรมศาสตร์ - กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (การออกแบบและสร้างโมบายให้สวยงามและ มีขนาดเหมาะสมกับหน้าต่างห้องเรียน)
M: คณิตศาสตร์ - การวัดและการเปรียบเทียบความยาว – การเปรียบเทียบนน้ำาหนัก
- ความสมดุล S: วิทยาศาสตร์* – ความแข็งของวัสดุ
ผังมโนทัศน์
S: วิทยาศาสตร์ ความสมดุล |
T: เทคโนโลยี การค้นหาข้อมูล การเลือกใช้วัสดุ |
E: วิศวกรรมศาสตร์ การออกแบบการวางแผน |
M: คณิตศาสตร์ การวัดและเปรียบเทียบ |
จุดประสงค์การเรียนรู้
- ใชทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตรประมาณน้ำหนักและระยะห่างในการทำให้โมบายสมดลุ
- ทดสอบความแข็งของวัสดุและเลือกวัสดุที่เหมาะสมสำหรับทำโมบาย
- ออกแบบและสร้างโมบายให้สวยงามและมีขนาดเหมาะสมกับหน้าต่างห้องเรียน
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมง 1 – 2
- ครูสทนากันกับนักเรียนเกี่ยวและร่วมอภิปรายกับนักเรียน เช่น เคยเห็น โมบายแบบใดบ้าง พบที่ใด โมบายที่พบมีลักษณะเป็นอย่างไร ทำจากวัสดุชนิดใด จากนั้นครูติดภาพ โมบายที่มีรูปร่างหรือลักษณะต่าง ๆ และทำด้วยวัสดุที่แตกต่างกันบนกระดาน หรือนำโมบายของ จริงมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกับนักเรียนว่าโมบายที่เหมาะสมกับขนาดหน้าต่างของห้องเรียนมีขนาดเท่าไหร่
ชั่วโมง 3 – 4
- ครูนำเข้าสู่บทเรียนและให้นักเรียนออกแบบโมบายในแบบของตนเอง
- ครูเริ่มอธิบายขั้นตอนการสร้างโมบาย
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มลองสร้างด้วยตัวเองและเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามาปรึกษา
- ครูและนักเรียนสรุปและอภิปรายร่วมกัน
ชั่วโมง 5 – 6
- ครูให้นักเรียนเริ่มสร้างโมบายของตนเอง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอของตนเองหน้าชั้นเรียน พร้อมให้เพื่อนๆกลุ่มอื่นร่วมให้คะแนน
- ครูประกาศและให้รางวัลกลุ่มที่ได้คะแนนจากเพื่อนๆมากที่สุด
- ครูและนักเรียนสรุปและอภิปรายร่วมกัน
การวัดและประเมินผล
จุดประสงค์การเรียนรู้ | วิธีการวัด | เครื่องมือ |
นักเรียนสามารถสร้างโมบายได้ | ประเมินใบกิจกรรม | ใบกิจกรรม |
นักเรียนสามารถสามารถค้นหาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลได้ (ความรู้เกี่ยวกับสื่อ) | ประเมินใบกิจกรรมการค้นหาข้อมูล | ใบกิจกรรมการค้นหาข้อมูล |
นักเรียนส่งงานตรงเวลา | สังเกตพฤติกรรมการส่งงานตรงเวลา | แบบสังเกตพฤติกรรมการส่งงานตรงเวลา |