ไวก็อตสกี้ (Vygotsky)
ประวัติ ไวก็อตสกี้ (Vygotsky)
เป็นนักจิตวิทยาชาวรัสเซีย เชื้อสายยิว เกิดในปี ค.ศ. 1896 สร้างแนวคิดทางจิตวิทยาขึ้นมาใหม่ตามแนวทางมาร์กซิสต์ และประยุกต์ใช้จิตวิทยาโดยเฉพาะในสาขาจิตวิทยาการศึกษา ในปี ค.ศ. 1962 ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่หนังสือของเขาในรูปแบบฉบับย่อ ภายใต้ชื่อเรื่องการคิดและภาษา (Thought and Language)
ไวก็อตสกี้ อธิบายว่า การจัดการเรียนรู้จะต้องคำนึงถึงระดับพัฒนาการ 2 ระดับ คือ ระดับพัฒนาการที่เป็นจริง (Actual Development Level) และระดับพัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้ (Potential Development Level) ระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการที่เป็นจริงและระดับพัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้ เรียกว่า พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ (Zone of Proximal Development) ซึ่งไวก็อตสกี้เปรียบเทียบการเรียนรู้กับพัฒนาการไว้ดังนี้
Past Learning : Actual Development Level
Present Learning : Zone of Proximal Development
Future Learning : Potential Development Level
พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ คือ บริเวณที่เด็กกำลังจะเข้าใจในบางสิ่งบางอย่าง ไวก็อตสกี้ได้ให้คำนิยามพื้นที่รอยต่อพัฒนาการนี้ว่า “ระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการที่แท้จริงซึ่งกำหนดโดยลักษณะการแก้ปัญหาของแต่ละบุคคลกับระดับของศักยภาพแห่งพัฒนาการที่ พื้นที่รอยต่อพัฒนาการในวันนี้ จะเป็นระดับของพัฒนาการในวันพรุ่งนี้ อะไรก็ตามที่เด็กสามารถทำได้โดยอยู่ภายใต้ความช่วยเหลือในวันนี้ วันพรุ่งนี้เขาจะสามารถทำได้ด้วยตัวของเขาเอง เพียงได้รับการเรียนรู้ที่ดีก็จะนำมาซึ่งพัฒนาการที่เจริญขึ้น”
การเรียนรู้ในพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ
ไวก็อตสกี้อธิบายว่า พัฒนาการและการเรียนรู้มีลักษณะที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน การเรียนรู้นำไปสู่พัฒนาการ สนับสนุนพัฒนาการ หรือผลักดันให้พัฒนาการเป็นไปในระดับที่สูงขึ้น เป็นการขยายระดับพัฒนาการออกไปอย่างไม่มีขีดจำกัด โดยเกิดจากการเรียนรู้มโนทัศน์ 2 ประเภท คือ มโนทัศน์โดยธรรมชาติ (Spontaneous or Everyday Concepts) และ มโนทัศน์ที่เป็นระบบ (Scientific or Schooled Concepts)
พื้นที่รอยต่อจะประสบผลสำาเร็จต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 5 ประการดังนี้
1. ภาษา ภาษาเกิดขึ้นครั้งแรกเป็นภาษาที่ไม่ได้แสดงถึงความคิด เป็นช่วงระยะเวลาที่ความคิดกับภาษาไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่เมื่อเด็กมีพัฒนาการมากขึ้น ความคิดกับภาษาจะเริ่มมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น ความคิดถูกแสดงให้เห็นออกมาผ่านทางภาษา ซึ่งภาษาที่แสดงออกมาจะมีความเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น
2. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ทารกเกิดมาพร้อมกับพื้นฐานทางความคิดความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ ในระดับต่ำ คือ มีความใส่ใจ การรู้สึก การรับรู้ ความจำ ที่ไม่ซับซ้อน นอกจากนี้ พฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมยังรวมไปถึงการโต้ตอบพูดคุยกับบุคคลซึ่งได้นำเสนอผลงาน
3. วัฒนธรรม เด็กจะปรับเปลี่ยนความคิดความเข้าใจไปตามประสบการณ์ที่ได้รับจากสังคมและวัฒนธรรมของเขา จนกระทั่งสร้างความรู้ขึ้นมา ทำให้เด็กมีกระบวนการทางปัญญาในระดับที่สูงขึ้น
4. การเลียนแบบ บทบาทของการเลียนแบบมีความสำคัญต่อการเรียนรู้และพัฒนาการ
5. การชี้แนะหรือการช่วยเหลือ เป็นการร่วมมือทางสังคม ที่สนับสนุนให้พัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจเกิดการเจริญงอกงาม ไวก็อตสกี้จะเน้นไปที่การมีบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญกว่าอาสาที่จะมีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์การเรียนรู้โดยให้การดูแลเอาใจใส่และปรับปรุงผู้เรียนที่เริ่มฝึกหัด การจัดเตรียมสิ่งที่จะช่วยสนับสนุนเพื่อให้ผู้เรียนเพิ่มความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา
ตารางวิเคราะห์ ทฤษฏีไวก๊อตสกี้กับกระบวนการ
ขั้นพัฒนาการ | องค์ประกอบ | เหตุผล |
1.ภาษา | ความเชื่อถือและความไว้วางใจ | การทำให้เด็กสามารถก้าวข้ามพื้นที่รอยต่อของพัฒนาการไปได้นั้นต้องอาศัยบุคคลที่ไม่เฉพาะครูแต่ยังมีพ่อแม่ |
2. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม | ความอาทรและห่วงใย | การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็กย่อมเกิดจากความอาทร และห่วงใยของพ่อแม่ ครู |
3. วัฒนธรรม | การยอมรับนับถือ | เด็กจะปรับเปลี่ยนความคิดความเข้าไปตามประสบการณ์ที่ได้รับจากสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน |
4. การเลียนแบบ | การมองโลกในแง่ดี | ไวก๊อตสกี้อธิบายว่าบทบาทการเลียนแบบมีความสำคัญต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กเพราะเมื่อครูเป็นแบบอย่างที่ดีในการแก้ปัญหาให้แก่เด็กก็จะนำครูมาเป็นแบบอย่าง |
5. การชี้แนะหรือการช่วยเหลือ | การมีจุดหมายและเจตนา | การชี้แนะหรือการช่วยเหลือเป็นความร่วมมือทางสังคมที่สนับสนุนให้เด็กมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ การไปถึงซึ่งจุดหมาย |
คุณลักษณะของผู้เรียนตามทฤษฏีพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ
1. ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสารทางภาษาอย่างน้อย 2 ภาษา
2. ผู้เรียนเป็นผู้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในทางบวก
3. ผู้เรียนเป็นผู้ตระหนักในความสำาคัญของปราชญ์ชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. ผู้เรียนมีจิตอาสา
5. ผู้เรียนเป็นผู้เสียสละมีน้ำใจและให้อภัย
6. ผู้เรียนอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
7. ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง
8. ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
9. ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้
Cedit : Proud N. Boonrak