หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กลไก เรื่อง นาฬิกาไม้
รายวิชา เทคโนโลยี เวลา 3 ชั่วโมง
สาระสำคัญ
นาฬิกา เป็นเครื่องมือสำหรับใช้บอกเวลา โดยมากจะมีรอบเวลา 12 ชั่วโมง หรือ 24 ชั่วโมง สำหรับนาฬิกาทั่วไป มีเครื่องหมายบอกชั่วโมง นาที หรือวินาที ให้เด็กได้ฝึกออกแบบและประดิษฐ์นาฬิกาที่ทำจากไม้
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ ศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติ ของสสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติ ของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี
มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด และนำไปใช้
ตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์ (S)
ว 2.1 ป.4/1 เปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพด้านความแข็งสภาพยืดหยุ่นการนำความร้อน และการนำไฟฟ้า ของวัสดุโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์จาก การทดลองและระบุการนำสมบัติเรื่องความแข็งสภาพยืดหยุ่น การนำความร้อนและการนำไฟฟ้า ของวัสดุไปใช้ในชีวิตประจำวันผ่านกระบวนการ ออกแบบชิ้นงาน
ทคโนโลยี (T)
ว 4.1 ม.3/5. ใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือกลไกไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องกับลักษณะของงานและปลอดภัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน
วิศวกรรมศาสตร์ (E)
ออกแบบโครงสร้างต่างๆ และส่วนประกอบของนาฬิกาไม้
คณิตศาสตร์ (M)
ค 2.1 ป.4/1. แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลา ค 2.1 ป.4/2. วัดและสร้างมุมโดยใช้โพรแทรกเตอร์
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านพุทธพิสัย (K)
- นักเรียนสามารถอธิบายกลไกการทำงานของนาฬิกา
ด้านทักษะพิสัย (P)
- นักเรียนสามารถออกแบบและสร้างนาฬิกาไม้ได้
ด้านจิตพิสัย (A)
นักเรียนมีการร่วมกันทำงานกลุ่ม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเอง
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
- มุ่งมั่นในการทำงาน
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการคิด
2. ความสามารถในการแก้ปัญหา
3. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นนำ (30 นาที)
ครู
1. ครูกล่าวทักทายนักเรียน และพานักเรียนเข้าสู่การทำกิจกรรมภายในห้องเรียน คือ กิจกรรมนาฬิกาคน โดยให้นักเรียนจับกลุ่ม กลุ่มละ 14 คน แล้วให้นักเรียนยืนเป็นรูปนาฬิกา 12 คน และอีก 2 คน เป็นเข็มนาฬิกา
2. ครูกำหนดโจทย์และให้นักเรียนปฏิบัติตามโจทย์ที่กำหนด เช่น เวลา 10.40 น. โดยเข็มสั้นชี้ที่เลข 10 เข็มยาวชี้ที่เลข 8
3. เมื่อจบกิจกรรม ครูอธิบายเกี่ยวกับกลไกของนาฬิกา
4. ครูสอบถามนักเรียนว่ามีนาฬิกาเป็นของตัวเองไหม และสอบถามนักเรียนว่าอยากมีนาฬิกาเป็นของตัวเองไหม
5. ครูพานำเข้าสู่บทเรียน
นักเรียน
นักเรียนกล่าวทักทายครู และร่วมทำกิจกรรมที่ครูกำหนด โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 14 คน แล้วยืนเป็นรูปนาฬิกา 12 คน และอีก 2 คน เป็นเข็มนาฬิกา และปฏิบัติตามโจทย์ที่ครูกำหนด
ขั้นสอน (1-2 ชั่วโมง)
ขั้นที่ 1 ระบุปัญหา
ครู
ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม และ อธิบายกลไกของนาฬิกา และยกตัวอย่างชิ้นงานประกอบในการสอน
นักเรียน
1. แบ่งกลุ่มในการทำงาน กลุ่มละ 5 คน
2. ให้นักเรียนพิจารณากลไกการทำงานของนาฬิกา
3. นักเรียนระบุปัญหาเกี่ยวกับกลไกการทำงานของนาฬิกาและเลือกปัญหาที่จะทำ
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
ครู
ครูมอบหมายงานให้นักเรียนไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการทำงานของนาฬิกา กลไกการทำงาน ให้เวลา 1 อาทิตย์
นักเรียน
1. นักเรียนทำการค้นคว้า หาข้อมูลเกี่ยวกับกลไกการทำงานของนาฬิกา จากอินเทอร์เน็ต หรือจากหนังสือ
2. รวบรวมข้อมูล และอภิปรายกันในกลุ่ม
ขั้นที่ 3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา
ครู
ครูทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้คำชี้แนะและอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับกระดาษและสีที่ใช้ในการออกแบบ
นักเรียน
1. ช่วยกันออกแบบวิธีการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 4 วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา
ครู
ครูทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้คำชี้แนะและอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แนะนำร้านวัสดุอุปกรณ์ ที่เกี่ยวกับการทำนาฬิกาไม้
นักเรียน
1. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวางแผนและออกแบบการทำนาฬิกาไม้
2. วางแผนและหาวัสดุอุปกรณ์
3. แบ่งหน้าที่รับผิดชอบและสร้างนาฬิกาไม้
ขั้นที่ 5 ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน
ครู
ครูทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้คำชี้แนะและแนะนำในการทำงานให้กับผู้เรียน
นักเรียน
1. ทำการทดลองชิ้นงานและแก้ไขปรับปรุงชิ้นงาน
2. ประเมินผลและบันทึกข้อมูล
ขั้นที่ 6 นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน
ครู
ครูฟังนักเรียนนำเสนอผลงานพร้อมให้คำเสนอแนะ และบันทึกคะแนน
นักเรียน
นักเรียนทำการนำเสนอผลงานของกลุ่มของตัวเองว่ามีกระบวนการทำงานของชิ้นงาน
ขั้นสรุป (30 นาที)
ครู
ครูทำการสรุป กลไกการทำงานนาฬิกา
นักเรียน
นักเรียนทำการจดบันทึกบทสรุปกลไกการทำงานของนาฬิกา
แหล่งการเรียนรู้
- ใบความรู้
- หนังสือเรียน
- หนังสืออ่านเพิ่มเติม
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
การวัดและประเมินผล
การวัดผลประเมินผล | วิธีการวัด | เครื่องมือวัด | เกณฑ์การผ่าน |
1. ด้านความรู้ความเข้าใจ | ตรวจแบบทดสอบ | แบบทดสอบกลไกการทำงานของนาฬิกา | ผ่าน 10 คะแนนขึ้นไป |
2. ด้านทักษะกระบวนการ | ประเมินผลงานและการนำเสนองาน | แบบประเมินผลงาน | ผ่านระดับ ดี ขึ้นไป |
3. ด้านเจตคติ | สังเกตความตั้งใจในการทำกิจกรรมและการมีส่วนร่วมในการทำงาน | แบบประเมินการสังเกต | ผ่านระดับ ดี ขึ้นไป |
สุดยอดครับ
สนใจสอบถามได้