
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พลังงานลม เรื่อง เครื่องบนพลังลม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชา วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว22101
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 5 ชั่วโมง
ผู้สอน นายฉัตริณ สาครินทร์
สาระสำคัญ
พลังงานลม เป็นพลังงานตามธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดดันของบรรยากาศและแรงจากการหมุนของโลก สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเร็วลมและกำลังลม เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าลมเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่มีอยู่ในตัวเอง ซึ่งในบางครั้งแรงที่เกิดจากลมอาจทำให้บ้านเรือนที่อยู่อาศัยพังทลายต้นไม้ หักโค่นลง สิ่งของวัตถุต่าง ๆ ล้มหรือปลิวลอยไปตามลม ฯลฯ ในปัจจุบันมนุษย์จึงได้ให้ความสำคัญและนำพลังงานจากลมมาใช้ประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไป ไม่ต้องซื้อหา เป็นพลังงานที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
ในการสร้างเครื่องบนซึ่งมีการใช้ลมเป็นแหล่งพลังงานในการเคลื่อนที่ มีการออกแบบเครื่องบินให้เป็นภาพร่างและเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมโดยพิจารณาจากสมบัติของวัสดุหลังจากร่างแบบแล้วดำเนินการสร้างเครื่องบินตามแบบที่ร่างไว้ให้ได้สัดส่วนตามที่กำหนดรวมถึงการใช้อุปกรณ์วัดตัดอย่างถูกต้องและปลอดภัย
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำวัน ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุ ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด และนำไปใช้
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็น ขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม
ตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์ (S) |
เทคโนโลยี (T) |
วิศวกรรมศาสตร์ (E) |
คณิตศาสตร์ (M) |
ว 2.2 ป.3/1 ระบุผลของแรงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุจากหลักฐานเชิงประจักษ์
|
ว 4.2 ป.3/3 ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้ |
ให้นักเรียนออกแบบเครื่องบินพลังงานลมโดยใช้การออกแบบเชิงวิศวกรรม
|
ค 2.1 ป.3/3 เลือกใช้เครื่องวัดความยาวที่เหมาะสมวัดและบอกความยาวของสิ่งต่าง ๆเป็นเซนติเมตรและมิลลิเมตรเมตรและเซนติเมตร ค 2.1 ป.3/4 คาดคะเนความยาวเป็นเมตรและเป็น เซนติเมตร
|
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านพุทธพิสัย
นักเรียนสามารถอธิบายพลังลมที่ผลต่อการเคลื่อนที่
ด้านทักษะพิสัย
นักเรียนสามารถสร้างชิ้นงานเครื่องบินพลังลมได้
ด้านจิตพิสัย
นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการทำงาน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
- มีวินัย
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
- ความสามารถในการคิด
- ความสามารถในการแก้ปัญหา
- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
กระบวนการจัดการเรียนรู้
กระบวนการ จัดการเรียนรู้ |
กิจกรรมการเรียนการสอน |
|
ครู |
นักเรียน |
|
ขั้นนำ |
1)ครูอภิปรายสถานการณ์พลังงาน ของประเทศไทยโดยเฉพาะการ ขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิงซึ่งมี ความพยายามหาแหล่งพลังงานอื่นมาทดแทนเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน 2)ครูถามความรู้เดิมของนักเรียน เกี่ยวกับปัจจัยมีีผลต่อการเคลื่อนที่ของเครื่องบินพลังลม 3)ครูยกประเด็นเกี่ยวกับเครื่องบินที่ใช้ลมเป็นแหล่งพลังงาน 4)ครูนำเสนอสิ่งประดิษฐ์เครื่องบินพลังลม จำลองจากเครื่องบินจริง
|
1)นักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานของประเทศ ไทย 2)นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นที่มีต่อความรู้เดิมที่สอดคล้องกับวิชาที่เรียน 3)นักเรียนพูดคุยประเด็นเครื่องบินที่ใช้พลังลม 4)นักเรียนซักถามเกี่ยวกับ สิ่งประดิษฐ์เครื่องบินพลังงานลม
|
ขั้นสอน
|
ขั้นที่ 1 ระบุปัญหา |
|
ครู |
นักเรียน |
|
1) ครูนำเสนอสิ่งประดิษฐ์เครื่องบินพลังลม จำลองจากเครื่องบินจริง 2) แบ่งกลุ่มนักเรียน 3) ครูชี้แจ้งเกณฑ์การให้คะแนน การออกแบบและสร้างเครื่องบินพลังลม โดยมีหัวข้อในการพิจารณา คือ ระยะทาง ต้นทุน วัสดุที่ใช้ 4) ครูกำหนดปัญหาให้นักเรียนแต่ ละกลุ่มดังนี้ ให้นักเรียนสร้างเครื่องบินพลังลมให้ร่อนได้ไกลที่สุดโดยใช้แรงแขนในการปล่อยเครื่องบินและแรงลมเท่านั้น
|
1)นักเรียนสอบถามเรื่องเครื่องบิน 2)นักเรียนซักถามเกี่ยวกับ สิ่งประดิษฐ์เครื่องบินพลังลม
|
|
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา |
||
ครู |
นักเรียน |
|
1) ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำใบ งานการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เครื่องบินเคลื่อนที่ได้ไกลเช่น เรื่องพลังงานลม รูปทรงและความสมดุลของตัวเครื่องบินแล้วนำมา อภิปรายกันในกลุ่มเพี่อนำไปออกแบบเครื่องบินพลังลม
|
1)นักเรียนทำใบงานสืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเครื่องบินและพลังงานลม |
|
|
ขั้นที่ 3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา |
|
ครู |
นักเรียน |
|
1) ครูสาธิตการร่อนเครื่องบินพลังลม 2) ครูให้แต่ละกลุ่มนำเสนอโดยเริ่มจากนำเสนอว่ามีปัญหาหรือความต้องการอะไร แล้วมีแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างไรซึ่ง ประกอบด้วยรูปแบบของเครื่องบินพลังลมพร้อมทั้งรายละเอียดวัสดุและต้นทุน |
1)นักเรียนแต่ละกลุ่มวาดแบบเครื่องบินและทดลองการร่อนเครื่องบิน 2)นักเรียนนำเสนอแบบเครื่องบินของแต่ละกลุ่ม |
|
ขั้นที่ 4 วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา |
||
ครู |
นักเรียน |
|
1) ครูให้แต่ละกลุ่มวางแผนการทำงานก่อนลงมือสร้าง จากนั้นจึงสร้างเครื่องบินพลังลมโดยใช้วัสดุตามที่ได้ออกแบบภายในเวลา 2 ชั่วโมง ทั้งนี้นักเรียนทุกกลุ่มต้องเก็บเศษวัสดุเหลือใช้เพื่อนำไปประเมินความคุ้มค่าของวัสดุที่ใช้ไป
|
1)นักเรียนวางแผนการทำงานก่อน สร้างเครื่องบินพลังลม นักเรียนสร้างเครื่องบินพลังลม |
|
ขั้นที่ 5 ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหา หรือชิ้นงาน |
||
ครู |
นักเรียน |
|
1) เมื่อสร้างเสร็จแล้ว แต่ละกลุ่มนำเครื่องบินพลังลม มาทดสอบการบิน หากเครื่องบินร่อนได้ใกล้มาก ๆ หรือบินไม่ได้ให้ปรับปรุงแก้ไขโดยมีเวลาปรับปรุงแก้ไข30นาที นักเรียนบันทึกวิธีการปรับปรุงแก้ไข ในใบกิจกรรม แล้วนำมาทดสอบอีกครั้ง 2) ครูให้นักเรียนทุกกลุ่มประเมินต้นทุนที่ใช้ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับใช้ประเมินชิ้นงานตามเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ 3) ครูจัดแข่งขันโดยเครื่องบินพลังลมของกลุ่มไหนเข้าเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ
|
1)นักเรียนสร้างเครื่องบินพลังลม ก่อนนำชิ้นงานมาปรับปรุง 2)นักเรียนวัดความไกลของเครื่องบินพลังลม 3)นักเรียนแข่งขันเครื่องบินพลังลมเครื่องบินใครบินได้ไกลสุดชนะ
|
|
|
ขั้นที่ 6 นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา |
|
ครู |
นักเรียน |
|
1) ครูให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานและอธิบายในประเด็นต่อไปนี้ 1.1) เครื่องบินพลังลมของกลุ่มเคลื่อนที่ได้ไกลตามที่ต้องการหรือไม่ อย่างไร 1.2) หลักการหรือปัจจัยใดที่กลุ่มนำมาพิจารณาในการสร้างเครื่องบินให้บินได้ไกลที่สุดและปัจจัยนั้นทำให้เครื่องบิน บินได้ไกลตามที่ต้องการหรือไม่ อย่างไร 1.3) ถ้าจะปรับปรุงให้เครื่องบินพลังลมให้บินได้ไกลขึ้นอีก จะทำอย่างไร
|
1)นักเรียนนำเสนอชิ้นงานของแต่ ละกลุ่มและอธิบายประเด็นต่าง ๆ |
|
ขั้นสรุป (ชั่วโมงที่ 5)
|
1) ครูให้นักเรียนร่วมกันสรุปประเด็นและความรู้ที่ได้จากการสร้างเครื่องบินพลังลม |
1)นักเรียนสรุปการทำเครื่องบินพลังลมแบบ mind mapping และนำเสนอหน้าชั้นเรียน |
แหล่งการเรียนรู้
- ใบความรู้
- หนังสือการออกแบบเครื่องบินพลังลม
- หนังสืออ่านเพิ่มเติม
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
การวัดและประเมินผล
การวัดผลประเมินผล |
วิธีการวัด |
เครื่องมือวัด |
เกณฑ์การผ่าน |
1. นักเรียนสามารถอธิบายพลังลมที่ผลต่อการเคลื่อนที่ |
ตรวจใบงาน
|
ใบงาน |
ค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 2 ขึ้นไป |
2. นักเรียนสามารถสร้างชิ้นงานเครื่องบินพลังลมได้ |
ประเมินชิ้นงาน
|
แบบประเมินชิ้นงาน |
ค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 2 ขึ้นไป |
3. นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการทำงาน |
ประเมินพฤติกรรมความกระตือรือร้นในการทำงาน
|
แบบประเมินพฤติกรรมความกระตือรือร้นในการทำงาน |
ค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 2 ขึ้นไป |
ได้ความรู้มากๆเลย
เยี่ยมไปเลย เยี่ยยไปเลย เยี่ยมไปเลย
พระเจ้าช่วยกล้วยทอด
สุดยอดครับ