หาได้โดยการหาสัดส่วน หรือจำนวนร้อยละของคนที่ตอบ ข้อสอบข้อนั้นถูกกับจำนวนคนทั้งหมด เขียนในรูปสูตรได้ดังนี้

ค่าความยากของข้อสอบมีลักษณะดังนี้
ค่าความยากของข้อสอบ (P) จะมีค่าอยู่ระหว่าง .00 ถึง 1.00ข้อสอบที่มีค่า P มาก ข้อสอบข้อนั้นมีคนตอบถูกมาก แสดงว่าข้อสอบง่ายข้อสอบที่มีค่า P น้อย ข้อสอบข้อนั้นมีคนตอบถูกน้อย แสดงว่าข้อสอบยากข้อสอบที่มีค่า P = .50 เป็นข้อสอบที่มีความยากปานกลาง หรือมีความยากง่ายพอเหมาะการแปลความหมายค่าความยากของข้อสอบกรณีตัวถูก มีเกณฑ์ดังนี้
ค่า P .81 – 1.00 หมายความว่า ง่ายมาก ควรตัดทิ้ง
.61 – .80 หมายความว่า ง่ายพอใช้ได้
.51 – .60 หมายความว่า ค่อนข้างง่าย ดี
.50 หมายความว่า ยากง่ายพอเหมาะ ดีมาก
.40 – .49 หมายความว่า ค่อนข้างยาก ดี
.20 – .39 หมายความว่า ยาก พอใช้ได้
.00 – .19 หมายความว่า ยากมาก ควรตัดทิ้ง
ค่าความยากสำหรับผู้สอบแต่ละกลุ่มจะมีค่าไม่เท่ากัน โดยปกติกลุ่มผู้สอบที่เก่งกว่าจะมีค่าความยากสูงกว่ากลุ่มอ่อน แต่หากผู้สอบแต่ละกลุ่มมีความสามารถใกล้เคียงกันแล้วก็จะมีผลให้ค่าความยากของข้อสอบใกล้เคียงกันค่าความยากที่เหมาะสมนั้นไม่คงที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายหรือสถานการณ์ในการสอบ แต่ละครั้งการพิจารณาค่าความยาก กรณีที่เป็นตัวลวง ตัวลวงที่ดีจะต้องมีคนเลือกตอบบ้างและไม่มากนัก ตัวลวงใดที่ไม่มีผู้ใดเลือกตอบเลย ถือว่าเป็นตัวลวงที่ผิดจนชัดเจนเกินไปไม่ดีในทางปฏิบัติในแบบทดสอบฉบับหนึ่งจะประกอบด้วยข้อสอบที่ง่ายจำนวนหนึ่ง ข้อสอบที่ยากจำนวนหนึ่ง และข้อสอบที่มีค่าความยากปานกลางเป็นส่วนใหญ่